2.1 รายวิชาพื้นฐาน  ต้องให้จำนวนชั่วโมงตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 กำหนด ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ภาคเรียนละ 40   ชั่วโมง รวม 1 ปี 80  ชั่วโมง   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  รวม 3  ปี  กำหนดให้เรียน  120  ชั่วโมง  ให้ใช้ชื่อรายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
            2.2 รายวิชาเพิ่มเติม  ผู้สอนต้องกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่เรียกว่า “ผลการเรียนรู้”  เองให้ชัดเจน  เนื่องจากไม่มีตัวชี้วัด และให้ใช้คำว่า “ผลการเรียนรู้” เท่านั้นไม่ใช่คำว่าผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สำหรับจำนวน ชั่วโมง ของรายวิชาเพิ่มเติม จัดตามโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาให้ใช้ชื่อรายวิชาที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น
3. เขียนคำอธิบายรายวิชา
      
ในการจัดทำคำอธิบายรายวิชาทุกวิชา  ทุกระดับชั้น ทำได้โดยนำตัวชี้วัดมาวิเคราะห์ว่ามีคำสำคัญ(Key Word) ใดที่เป็น “ความรู้(K)”  “ทักษะ/กระบวนการ(P)” และ “คุณลักษณะ(A)”  มาจัดแยกไว้เป็นส่วน ๆ  วิเคราะห์ให้ครบทุกตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในรายวิชา  แล้วนำมาเขียนร้อยเรียงเป็นคำอธิบายรายวิชาโดยอาจให้ข้อความทั้ง 3 ส่วน  ผสมกลมกลืนกัน  หรือเขียนแยกส่วนของความรู้  ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะไว้คนละย่อหน้าก็ได้  และย่อหน้าสุดท้ายของคำอธิบายรายวิชาต้องระบุด้วยว่า  วิชานี้มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง  โดยเขียนเป็นรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ด้วย
4. จัดทำโครงสร้างรายวิชา
      โครงสร้างรายวิชาเป็นการกำหนดขอบเขตและลำดับของหน่วยการเรียนรู้ที่แสดงให้เห็นภาพรวมของรายวิชา มาตรฐาน/ตัวชี้วัด  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลาเรียน และน้ำหนักคะแนนของแต่ละ
หน่วยการเรียนรู้ในรายวิชานั้น ๆ โดยแบ่งตัวชี้วัดและสาระเรียนรู้ออกเป็นหน่วยย่อยๆ ตลอดภาคเรียน ครูผู้สอนจัดทำโครงสร้างรายวิชาโดยดำเนินการ ดังนี้