1. แนวการจัดการเรียนรู้ตามธรรมชาติ (Natural Approach-NA)
เป็นแนวการจัดการเรียนรู้ที่พยายามเลียนแบบการรับรู้ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็ก และ เป็นการรับรู้ภาษาที่เกิดตามธรรมชาติโดยไม่มีใครสอน ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องที่สำคัญและแพร่หลายคือ ทฤษฏีการรับรู้ภาษาที่เกิดตามธรรมชาติโดยที่ไม่มีใครสอน ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องที่สำคัญและแพร่หลายคือ ทฤษฏีการรับรู้และการพัฒนาการเรียนภาษาที่สอง (Theory of Second Language Acquisition) คราเชน ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง และผู้เรียนที่ใช้สองภาษา โดยมีความเชื่อว่าการที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ภาษาที่สอง ผู้สอนต้องจัดการเรียนการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตัวป้อน (input) ได้ง่ายและเร็วขึ้น เช่น การใช้เทคนิคใบ้คำ (mime) การใช้ภาษาท่าทาง (body language) เป็นต้น หรืออาจใช้แถบบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ช่วย การที่จะช่วยให้ผู้เรียนภาษาที่สองมีความสามารถในการใช้ภาษาได้โดยตรงนั้น ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ภาษาเหมือนวิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปล (Grammar Translation Approach) แต่ผู้สอนต้องเข้าใจกระบวนการรับรู้ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็ก เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจการเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้เรียน ผู้สอนจ้อจัดกิจกรรมการเรียนการจัดการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกับการเรียนภาษาที่หนึ่งให้มากที่สุด ซึ่งสามารถทำได้โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์จริงนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นตัวแปรที่มีผลต่อความสำเร็จในการเรียนภาษาที่สอง ถ้าผู้เรียนเกิดแรงจูงใจสูง มีแนวโน้มที่จะแสวงหาโอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของภาษา ผู้เรียนที่มีทัศนคติด้านบวกต่อการเรียนภาษา จะเรียนได้ดีกว่าผู้เรียนที่มีทัศนคติด้านลบ ดังนั้นในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนผู้สอนต้องจัดบรรยายอากาศที่เป็นมิตรเพื่อเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่นในตนเอง