1. การจัดการเรียนรู้แบบ KWL
1.1 กลวิธีการสอนอ่านแบบ KWL ได้รับการพัฒนาโดย คาร์และโอเกิล (Carr and Ogle. 1987: 626-631) K ในกระบวนการ KWL หมายถึง “Know” เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหัวข้อเรื่องหรือชื่อเรื่องว่าตนเองมีความรู้เกี่ยวกับชื่อเรื่องมากน้อยเพียงใด เป็นการนำความรู้เดิมมาใช้ เพราะการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้พื้นฐาน และประสบการณ์ของนักเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการการจัดกิจกรรมก่อนอ่าน ซึ่งเป็นการเตรียมนักเรียนในการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ การบูรณาการระหว่างความรู้พื้นฐาน และเรื่องที่นักเรียนจะอ่านเป็นสิ่งที่ช่วยให้นักเรียนสร้างความหมายของบทอ่านได้ดี และผู้อ่านควรได้รับการกระตุ้นความรู้พื้นฐาน ดังนั้น ขั้นตอนนี้ ทฤษฏีโครงสร้างความรู้ ซึ่งเป็นทฤษฏีโครงสร้างความรู้ซึ่งเป็นทฤษฏีว่าด้วยหลักการในการนำความรู้พื้นฐาน ความรู้เดิมและประสบการณ์เดิมมาใช้ในการเรียนการสอนจึงเป็นทฤษฏีเกี่ยวข้องที่สำคัญมาก
W ในกระบวนการ KWL หมายถึง “Want to know” เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องถามตัวเองว่าต้องการรู้อะไรในเนื้อเรื่องที่จะอ่านบ้าง ซึ่งคำถามที่นักเรียนสร้างขึ้นก่อนอ่านนี้เป็นการตั้งเป้าหมายในการอ่าน และเป็นการคาดหวังว่าจะพบอะไรในบทอ่านบ้าง
L ในกระบวนการ KWL หมายถึง “Learned” เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสำรวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน โดยนักเรียนจะหาคำตอบให้กับคำถามที่ตนเองตั้งไว้ ในขั้นตอน W และจดบันทึกสิ่งที่ตนเองเรียนรู้